หลักสูตรที่เปิดสอน
  » หลักสูตรที่เปิดสอน
 คอร์สเรียนแบ่งตามระดับชั้น
  » ระดับอนุบาล
  » ระดับประถมศึกษา
  » ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
  » ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
  » ระดับบุคคลทั่วไป/ระดับมหาวิทยาลัย
 คอร์สเรียนแบ่งตามรายวิชา
  » เชาวน์ปัญญา (ระดับอนุบาล)
  » คณิตศาสตร์
  » วิทยาศาสตร์
  » ฟิสิกส์
  » เคมี
  » ชีวะ
  » ภาษาอังกฤษ
  » ภาษาไทย
  » สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม
  » ศิลปะ
  » คอมพิวเตอร์ (ระบบสารสนเทศ)
  » การบ้านทั่วไป
 อยากเรียนภาษา
  » ภาษาฝรั่งเศส
  » ภาษาเยอรมัน
  » ภาษาญี่ปุ่น
  » ภาษาอาหรับ
  » ภาษาจีน
  » ภาษาบาลี
  » ภาษาเกาหลี
  » ภาษาอังกฤษเพื่อสนทนา
  » ภาษาไทยสำหรับชาวต่างชาติ
  » ภาษาอื่นๆ
 ติวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
  » IGCSE
  » Ged
  » O-Net
  » GAT/PAT
  » SAT
  » CU-TEP
  » CU-ATT
  » TOEFL
  » IELTS
  » TOEIC
วันนี้ 174
เมื่อวาน 155
สัปดาห์นี้ 771
สัปดาห์ก่อน 899
เดือนนี้ 1,759
เดือนก่อน 3,409
ทั้งหมด 187,012
  Your IP :18.97.14.89

10 ยอดเหตุผลแห่งการเริ่มเรียนภาษาอาหรับ

 

 

                คุณเคยคิดเรื่องการเรียนภาษาอาหรับบ้างไหม แล้วคุณก็ไม่แน่ใจว่า ภาษาอาหรับจะเป็นประโยชน์อย่างไรได้บ้างไหม และที่นอกเหนือไปจากนั้น เหตุผลว่าทำไมทุกคนจึงควรเรียนภาษาสักหนึ่งภาษา นี่ก็เป็นอีกเหตุผลสำคัญ 10 ประการเช่นกันว่า ทำไมภาษาอาหรับ จึงอาจเป็นตัวเลือกสุดยอดสำหรับคุณ ก็เป็นได้

1. ภาษาอาหรับเป็นภาษาประจำชาติ ที่ใช้พูดกันโดยทั่วไปมากที่สุด อยู่ในอันดับที่ 5

ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางราชการ ของประเทศต่างๆ กว่า 20 ประเทศ และมีผู้พูดเป็นภาษาประจำชาติ อีกกว่า 300 ล้านคน คนที่พูดภาษาอาหรับ จะอยู่กันหนาแน่นในแถบตะวันออกกลาง และมีเป็นกลุ่มๆ อยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก นอกจากนี้ ภาษาอาหรับ ยังเป็นภาษาทางราชการ ขององค์การสหประชาชาติ สันนิบาตอาหรับ องค์กรการประชุมอิสลาม และสหภาพแอฟิกัน

2. ภาษาอาหรับเป็นภาษาทางศาสนาของอิสลาม

นอกจากเจ้าของภาษาหลายล้านคน ก็ยังมีผู้คนอีกนับล้าน ที่รู้ภาษาอาหรับ ในฐานะภาษาต่างประเทศ เนื่องจากเป็นภาษา ของอัลกุรอาน ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดี ในหมู่ชาวมุสลิมทั่วโลก

3. คนที่พูดภาษาอาหรับได้ในโลกตะวันตก เป็นที่ต้องการสูง แต่มีจำนวนน้อย

ด้วยเหตุนี้ จึงมีชาวตะวันตกเพียงไม่กี่คน ที่ยอมเรียนภาษาอาหรับ จากความสำคัญของตะวันออกกลาง ในด้านกิจการ ระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงยังคงมีความขาดแคลนอยู่มาก ในเรื่องของคนงาน ที่มีความเชื่ยวชาญ ด้านภาษาอาหรับ และวัฒนธรรมตะวันตก คนที่ศึกษาภาษาอาหรับเหล่านี้ สามารถประกอบอาชีพได้หลาย สาขา อิทิ การเขียนข่าว ธุรกิจ อุตสาหกรรม การศึกษา การเงินและการธนาคาร การแปล การให้คำปรึกษา การบริการด้านต่างประเทศ และข่าวกรอง และอื่นๆ อีกมาก และ ในจำนวนสายลับ เอฟ บี ไอ 12,000 คน ของสหรัฐอเมริกา มีคนเพียงแค่ 1 % เท่านั้น ที่ไม่รู้ภาษาอาหรับ ทั้งนี้ รวมถึงผู้ที่รู้เพียงเล็กน้อยด้วย

4. มีแรงกระตุ้นด้านการเงินให้เรียนภาษาอาหรับ

รัฐบาลสหรัฐ ได้เลือกภาษาอาหรับ ให้เป็นภาษาที่มีความสำคัญ ด้านยุทธศาสตร์ จึงได้มีการก่อตั้ง โครงการภาษาทางยุทธศาสตร์แห่งชาติ ขึ้น เป็นสถาบันในปี พ.ศ.2549 (2006) โดยส่งเสริมด้านการเรียนภาษาอาหรับ (และภาษาอื่นที่พิจารณาว่าสำคัญ) ในหมู่คนอเมริกัน โดยการให้ทุนการศึกษาจำนวนมาก และสนับสนุนให้มีโอกาสทางการเรียน ในหลักสูตรภาษาระยะสั้น ตั้งแต่ระดับต้น จนถึงระดับสูง โครงการศึกษาต่อต่างประเทศ โอกาสทางการสอน ที่มีอยู่มากมาย การแลกเปลี่ยนครู และการพัฒนาด้านอาชีพ

5. ชาติที่พูดภาษาอาหรับเป็นตลาดที่โตเร็วด้านการค้า

ความคิดริเริ่มในการที่จะผสานโลกอาหรับ เข้าไว้ในเศรษฐกิจโลก เป็นการเปิดโอกาสอย่างมาก ให้กับธุรกิจ ในแถบตะวันตกเฉียงเหนือ ภูมิภาคอาหรับ ที่มีประชากรเติบโตอย่างรวดเร็ว ทำให้มีตลาดส่งออกสินค้า และการบริการ ที่มีขนาดใหญ่มากแห่งหนึ่ง และด้วยจำนวนผลผลิตมวลรวม ภายในประเทศกว่า 600 ล้าน ล้านดอลล่าร์ ต่อปี ก็ได้ทำให้ภูมิภาคแถบนี้ สามารถส่งออกให้กับตลาดโลก ได้อีกมากเช่นกัน และเพื่อที่จะดำเนินธุรกิจ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคคลากรจะต้องเข้าใจภาษา และวัฒนธรรมของคนผู้ซึ่งหวังจะเจรจา และทำการค้าด้วย

6. ผู้ที่พูดภาษาอาหรับได้มีคุณูปการต่ออารยธรรมโลก

ในขณะที่ยุโรป รับรู้ถึงการชะงักงันทางด้านความรู้ของยุคกลาง อารยธรรมอาหรับอิสลาม ก็ได้รับความเจริญถึงขีดสุด โดยคนอาหรับได้ทำคุณประโยชน์อย่างมาก ให้กับความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์ การแพทย์และปรัชญา โดยความรู้มากมาย ที่ได้รับจากวัฒนธรรมกรีก โรมัน และไบเซนไทน์นั้น มาจากสิ่งที่ได้มีการเก็บรักษาไว้ในห้องสมุดของชาวอาหรับ นอกจากนี้ ชาวอาหรับยังได้ทำประโยชน์ที่สำคัญ อีกหลายๆ สาขา เช่น วรรณคดี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การค้นคว้า โหรศาสตร์ และสถาปัตยกรรม เพราะความรู้ทางภาษาอาหรับ สามารถสืบเสาะ เข้าไปในส่วนขององค์ความรู้ ที่มีอยู่มหาศาล ในภาษาดั้งเดิมของศาสตร์เหล่านั้นได้

7. โลกที่ใช้ภาษาอาหรับมีมรดกทางวัฒนธรรมอยู่มาก

โลกอาหรับ มีศิลปะ ดนตรี วรรณคดี อาหาร วิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ชาวตะวันตก รู้จักระบำหน้าท้อง หรืออาจจะเคยอ่านเรื่องหนึ่งพันราตรี และอาจเคยทำอาหารตะวันออกกลาง ที่นิยมกัน เช่น ฮุมมุส ฟาลาเฟล อาหารอาหรับ ประเภทลูกชิ้นทอด ทำด้วยถั่วเมล็ดใหญ่สีน้ำตาล แต่ประสบการณ์ของคนตะวันตก ในเรื่องวิถีชีวิต มีจำกัด ดังนั้น การท่องไปในโลกอาหรับ จะทำให้คุณได้เรียนรู้ และซาบซึ้งถึงผลิตผล ทางวัฒนธรรม และเข้าใจถึงคุณค่าบางอย่าง ที่มีความสำคัญต่อคนอาหรับ เช่น เกียรติยศ ความสุขุมเยือกเย็น และความเอื้อเฟื้อ

8. การรู้ภาษาอาหรับสามารถส่งเสริมความเข้าใจ ระหว่างวัฒนธรรมที่แตกต่างได้

นอกจากการมีประสบการณ์อันจำกัด ในเรื่องของวัฒนธรรมอาหรับ ที่แท้จริงแล้ว ชาวตะวันตก ยังได้รับการนำเสนอ เกี่ยวกับกลุ่มที่พูดภาษาอาหรับ ในลักษณะเหมารวมที่เป็นด้านลบ ผ่านสื่อต่างๆ จากภาพยนต์ฮอลีวูด และจากแหล่งอื่นๆ

ขณะเดียวกัน เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกตะวันออกกลาง ก็ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ของเรา การเชื่อถือในภาพลักษณ์ที่ผิดๆ และมองเพียงผิวเผิน สามารถที่จะนำไปสู่ความไม่ไว้วางใจ รวมถึงการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง การไม่สามารถร่วมมือกันได้ การเจรจา การประนีประนอม หรือนำไปสู่การเผชิญหน้ากันทางทหาร

ทั้งนี้ ผู้ที่เรียนภาษาอาหรับ จะมีความเข้าใจที่ลึกซึ้ง มากกว่าในคุณค่า วัฒนธรรม การเมืองและการศาสนา ซึ่งจะสามารถเจรจา เพื่อลดช่องว่างทางภาษา และวัฒนธรรม ระหว่างชาติต่างๆ ได้ ช่วยให้สามารถแก้ปัญหา และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง ระหว่างวัฒนธรรมได้ และช่วยให้ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ด้านการค้าระหว่างประเทศ ประสบความสำเร็จ

9. อิทธิพลของภาษาอาหรับ ปรากฏอย่างชัดเจน อยู่ในภาษาอื่น

การส่งออกในด้านความคิด สินค้า และการแสดงออกทางวัฒนธรรม จากคนที่พูดภาษาอาหรับ ปรากฏอย่างชัดเจน ในคำศัพท์ภาษาอื่นๆ ที่ยืมมาจากภาษาอาหรับ คำว่า เรขาคณิต (algebra) ที่คิดค้นขึ้น โดยนักคณิตศาสตร์ชาวอาหรับ ในยุคกลาง สินค้าที่พบเห็นได้โดยทั่วไป เช่น กาแฟ (Coffee) และผ้าฝ้าย (Cotton) มาจากโลกอาหรับ รวมทั้งดอกมะลิ (jasmine) มะนาวผลสีเหลือง (lemon) และมะนาวผลสีเขียว (lime) คำยืมภาษาอาหรับ ที่ปรากฏในภาษาอังกฤษ บ่งบอกถึงความหมาย ของสิ่งที่แตกต่างกันออกไป เช่น สมุนไพรเฮนน่า (henna) ศิลปะการถักเชือกเมคราเม่ (macrame) กีต้าร์อาหรับที่เรียกว่าอู๊ด (lute) ที่นอน (mattress) หนูทะเลทราย (gerbil) ซอเบท์ของหวานที่ทำมาจากผลไม้ แล้วนำมาแช่แข็ง (sorbet) ทุ่งหญ้าซาฟารี (safari) และผ้ามัสลิน (muslin)

อิทธิพลของภาษาอาหรับ มิได้ปรากฏอยู่ในภาษาอังกฤษ เท่านั้น แต่ยังมีคำที่นำมาใช้เขียนอีก เป็นจำนวนมาก ที่พอสังเกตเห็นได้ ในภาษาเปอร์เซีย ตุรกี เคอร์ดิช สเปน ซวาฮิลี อุรดู และในภาษาอื่นๆ

10. ประเทศสหรัฐอเมริกามีชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอาหรับ อเมริกัน

ผลการสำรวจของสำนักสำมะโนประชากรสหรัฐ ปี พ.ศ.2545 (2002) พบว่า มีคนจำนวน 1.2 ล้านคน ที่สืบทอดเชื้อสายชาวอาหรับ อาศัยอยู่ในประเทศอเมริกา แม้ว่าจะด้วยประชากรเพียงเล็กน้อยนี้ แต่ก็มีปริมาณการเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว ในช่วงทศวรรษที่ 1990 (พ.ศ. 2533-2543) และจากการที่ว่า วัฒนธรรมเริ่มที่บ้านนั้น แม้เพียงความรู้พื้นฐาน ในเรื่องของภาษาอาหรับ และวัฒนธรรม ก็สามารถสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง และยอมรับให้แก่ชาวอเมริกัน กลุ่มนี้ ที่มักถูกเข้าใจผิด และตีความผิดได้

 

 

Tags: ครูสอนพิเศษ ภาษาอาหรับ, เรียนพิเศษ ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์ ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์ตามบ้าน ภาษาอาหรับ, ครูสอนพิเศษตามบ้าน ภาษาอาหรับ, ครูสอนพิเศษที่บ้าน ภาษาอาหรับ,ครูสอนพิเศษ อาหรับ, เรียนพิเศษที่บ้าน ภาษาอาหรับ, หาครูสอนพิเศษที่บ้าน ภาษาอาหรับ, รับสอนภาษาอาหรับ, เรียนพิเศษ ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์ ภาษาอาหรับ,ติวเตอร์สอนพิเศษ ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์สอนพิเศษที่บ้าน ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์สอนพิเศษตามบ้าน ภาษาอาหรับ, เรียนภาษาอาหรับ ที่ไหนดี, กวดวิชา ภาษาอาหรับ, เรียน ภาษาอาหรับ,เรียน ภาษาอาหรับ ตัวต่อตัว, ติวสอบ ภาษาอาหรับ, ติวสอบเข้า ภาษาอาหรับ, เรียน อาหรับ, ภาษาอาหรับ, รับสอนพิเศษ ภาษาอาหรับ, รับสอนพิเศษ ภาษาอาหรับ, ติว ภาษาอาหรับ,สอน ภาษาอาหรับ, รับสอน ภาษาอาหรับ, อาจารย์ ภาษาอาหรับ, อาจารย์สอนพิเศษ ภาษาอาหรับ, งานสอนพิเศษ ภาษาอาหรับ, งานสอนพิเศษตามบ้าน ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์ จุฬา ภาษาอาหรับ, ติวเตอร์ เอกภาษาอาหรับ, ติวเตอร์จุฬา, จุฬาติวเตอร์, ครูสอนพิเศษที่บ้าน, ครูสอนพิเศษตามบ้าน, ครูสอนพิเศษ, ติวตัวต่อตัว, ติวสอบ, ติวสอบเข้า

 

Share on Facebook
 
Copyright © 2013-2015 Geniuschulatutor All Rights Reserved. 
Create by  all webeasy